วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

เฉลย

1. ง
2. ก
3. ข
4. ค
5. ข
6. ก
7. ก
8. ง
9. ก
10. ค

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย x ทับคำตอบที่ถูกที่สุด
1. การยืดกล้ามเนื้อมีประโยชน์อย่างไร
ก. ช่วยให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น
ข. ลดอาการบาดเจ็บ
ค. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ง. ถูกทุกข้อ
2. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการ Worm up
ก. เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
ข. เพื่อจะได้เล่นกีฬาได้ดี
ค. ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
ง. ถูกทุกข้อ
3. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการยืดกล้ามเนื้อด้านล่าง
ก. ฝึกความแข็งแรงของขา
ข. กล้ามเนื้อขาแข็งแรง
ค. ไม่เกิดอุบัติเหตุ
ง. ลดอาการบาดเจ็บ
4. การยืดกล้ามเนื้อขาส่วนบนด้านในต้องหยุดนิ่งไว้กี่วินาที
ก. 20 วินาที
ข. 30 วินาที
ค. 40 วินาที
ง. 50 วินาที
5. การยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างด้านข้างและส่วนบนสะโพกต้องหยุดนิ่งไว้กี่วินาที
ก. 20 วินาที
ข. 30 วินาที
ค. 40 วินาที
ง. 50 วินาที


6. การยืดกล้ามเนื้อขาด้านล่างและข้อเท้าทั้งสองหยุดนิ่งไว้ประมาณกี่วินาที
ก. 20 วินาที
ข. 30 วินาที
ค. 40 วินาที
ง. 50 วินาที
7. การยืดกล้ามเนื้อขาส่วนบนด้านหน้าและข้อเท้า เพื่ออะไร
ก. ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
ข. ลดอาการบาดเจ็บ
ค. เคลื่อนไหวร่างกายได้ง่าย
ง. มีความคล่องตัว
8. ท่าบริหารร่างกายหลังการฝึกซ้อมมีกี่กระบวนท่า
ก. 6 กระบวนท่า
ข. 7 กระบวนท่า
ค. 8 กระบวนท่า
ง. 9 กระบวนท่า
9. การยืดกล้ามเนื้อน่องมีประโยชน์อย่างไร
ก. มีกำลังขา
ข. น่องแข็งแรง
ค. ลดอาการปวดน่อง
ง. ถูกทุกข้อ
10. การยืดกล้ามเนื้อหลังและก้นมีประโยชน์อย่างไร
ก. เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
ข. ลดอาการบาดเจ็บจากการเล่น
ค. การเคลื่อนไหวคล่องตัว
ง. ถูกทุกข้อ

ใบความรู้เรื่อง ทักษะการบริหารร่างกายสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล

การบริหารร่างกาย คือ การออกกำลังกายที่มีผลทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงเนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อได้รับการกระตุ้นทำให้เจริญเติบโต มีการยืดหยุ่น หดตัวและเคลื่อนตัวได้ดี กล้ามเนื้อมีกำลังแข็งแรง หลอดเลือดมีการขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือด เป็นไปโดยสะดวกสม่ำเสมอ หัวใจสูบฉีดเลือดเป็นปกติ การบริหารร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การบริหารร่างกายโดยทั่วไป คือ การบริหาร โดยออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้รับการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการยืดหยุ่น ข้อต่างๆ ได้รับความร้อนทำให้เกิดการหล่อลื่นจากน้ำมันธรรมชาติ ระบบหายใจทำงานได้สะดวก ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดี การบริหารร่างกายโดยทั่วไปคือการอบอุ่นร่างกาย (Warm up ) และการผ่อนคลาย (Cool down ) ถือว่าเป็นพื้นฐานทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนแข็งแรง สามารถใช้กำลังฝึกกีฬาได้ทุกประเภท ( ที่มา. ชัยสิทธิ์ สุริยะจันทร์และคณะ)
2. การบริหารร่างกายเฉพาะอย่าง คือการบริหารร่างกายเฉพาะประเภทกีฬา เป็นการออกกำลังกายโดยเน้นให้ใช้กำลังเฉพาะที่ กล้ามเนื้อส่วนที่มีความจำเป็นสำหรับกีฬานั้น ๆ เป็นการฝึก
ให้กล้ามเนื้อแข็งแรงเหมาะกับประเภทกีฬา (ที่มา. ชัยสิทธิ์ สุริยะจันทร์และคณะ)

ทักษะการบริหารร่างกายสำหรับกีฬาวอลเลย์บอล















วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ( พลศึกษา ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กีฬา ( วอลเลย์บอล ) ภาคเรียนที่ 1
เรื่อง ปฐมนิเทศ, ประวัติและคุณค่ากีฬาวอลเลย์บอล จำนวน 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 17 - 24 พฤษภาคม 2550

สาระสำคัญ
กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยนายวิเลียม จี มอร์แกน
ดัดแปลงมาจากกีฬาเทนนิส ต่อมาได้แพร่หลายเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย เพราะเป็นเกมที่เล่นง่ายสามารถเล่นได้ตามสถานที่ต่าง ๆ และทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. รู้จักวิธีการออกกำลังกายและเล่นกีฬาตามความถนัด
2. เห็นคุณค่าของการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจำสม่ำเสมอ
3. นักเรียนบอกประวัติและคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนบอกข้อตกลงในการเรียนวิชาพลศึกษาได้อย่างถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
1. ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
2. คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
3. ข้อตกลงในการเรียนวิชาพลศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นนำ
ทดสอบก่อนเรียนเรื่อง กีฬาวอลเลย์บอล
2. ขั้นอธิบายและสาธิต
2.1. แบ่งกลุ่มนักเรียนตามที่ได้วิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ไว้แล้ว
2.2. บอกกับนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องประวัติและคุณค่ากีฬาวอลเลย์บอลและให้ตัว
แทนแต่ละกลุ่มออกมารับใบความรู้และกระดาษเพื่อนำเสนองาน
3. ขั้นฝึกปฏิบัติ
3.1. นักเรียนร่วมกันศึกษาจากใบความรู้ที่ครูแจกให้และปฏิบัติกิจกรรมตามกลุ่มที่ครู
มอบหมาย ดังนี้
3.2 กลุ่มอิสระ ให้สรุปคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลลงในกระดาษ A4 และส่งตัวแทน
ออกมารายงานหน้าชั้น
3.3. กลุ่มร่วมมือ ให้นักเรียนเขียน Mind Map เกี่ยวกับคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอล
ระบายสีให้สวยงามและนำมาส่ง
3.2. กลุ่มมีส่วนร่วม สรุปประวัติกีฬาวอลเลย์บอลลงในกระดาษ A4 และออกมา
รายงานหน้าชั้น
4.ขั้นนำไปใช้
4.2 นักเรียนร่วมกัน ถึงวิธีการเล่นกีฬาด้วยความปลอดภัย
5.ขั้นสรุปผล
ครูสรุปประวัติกีฬาวอลเลย์บอลว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมี
นาย วิลเลียม จี มอร์แกน เป็นผู้คิดค้น ต่อมาได้แพร่หลายเป็นที่นิยมเล่นกันทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย และชี้ให้เห็นคุณค่าของผู้ที่เล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่นอกจากจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ในปัจจุบันยังเล่นเป็นอาชีพได้ หลังจากนั้นได้ให้นักเรียน อภิปราย ซักถาม และสนทนากับนักเรียนในเรื่องข้อตกลงในการเรียน พร้อมกับแจกใบความรู้ที่ 2 ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติม
สื่อ – อุปกรณ์
1. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 28 ฉบับ
2. หนังสือเรียน วิชาวอลเลย์บอล จำนวน 10 เล่ม
3. สีไม้ 3 กล่อง
4. กระดาษ A4 กลุ่มละ 5 แผ่น
5. ใบความรู้ที่ 1 ประวัติและคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอล
6. ใบความรู้ที่ 2 ข้อตกลงในการเรียนวิชาพลศึกษา
การวัด / ประเมินผล
วิธีการประเมิน
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
ทดสอบก่อนเรียนเรื่อง กีฬาวอลเลย์บอล
แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนเรื่อง กีฬาวอลเลย์บอล
แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนวิชาวอลเลย์บอล
ทำได้ 1 - 9 ข้อ
ปรับปรุง ไม่ผ่าน
ทำได้ 10 - 13 ข้อ
ปานกลาง ผ่าน
ทำได้ 14 - 17 ข้อ
ดี ผ่าน
ทำได้ 18 - 20 ข้อ
ดีมาก ผ่าน
สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 1 - 12 ปรับปรุง ไม่ผ่าน16 - 24ปานกลาง ผ่าน 31 - 45 ดี ผ่าน 46 - 36 ดีมาก ผ่าน
ตรวจรายงาน
แบบประเมินชิ้นงานรายบุคคล
แบบประเมินชิ้นงานกลุ่ม
1 - 20
ปรับปรุง ไม่ผ่าน
21 - 40
ปานกลาง ผ่าน
41 - 60
ดี ผ่าน
61- 80
ดีมาก ผ่าน

ความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา

เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี เน้นการฝึกปฏิบัติจริง และนำไปใช้ประโยชน์ในระดับที่สูงต่อไป และครูผู้สอนได้สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย ไปครบทุกขั้นตอน ดังปรากฏชัดเจนในขั้นตอนการสรุปซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก


ลงชื่อ………...........…………… ผู้บริหาร
( นายสุทิตย์ ขิมทอง )
16 พฤษภาคม 2550

บันทึกหลังการสอน
ในขั้นเตรียม ครูได้ทดสอบความรู้เรื่องประวัติและคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลก่อนเรียน ที่ห้องพลศึกษา โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเอง เป็นข้อสอบปรนัย จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 8 นาที ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและตั้งใจปฏิบัติกันเป็นอย่างดี แต่ก็มีบางคนที่แอบ ๆ ดูของเพื่อนบ้าง ซึ่งครูก็ได้พูดห้ามไม่ให้ทำเพราะเป็นสิ่งไม่ดี และไม่มีความซื่อสัตย์ นักเรียนจึงได้เลิกพฤติกรรมดังกล่าว
ในขั้นสอน ได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มตามที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว โดยให้ส่งตัวแทนออกมารับ
หนังสือและใบงานนำไปปฏิบัติ หลังจากนั้นได้แยกไปปฏิบัติตามกลุ่มของตนเอง ซึ่งก่อนปฏิบัติกิจกรรมได้สังเกตเห็นนักเรียนมีการเลือกหัวหน้าและผู้รายงานกันในกลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ค่อยมีใครอยากเป็นหัวหน้าและผู้รายงานเท่าที่ควร ขณะปฏิบัติกิจกรรมนั้นนักเรียนได้ให้ความสนใจ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่กันเป็นอย่างดี มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บางคนไม่ได้จดบันทึกก็ช่วยกันค้นคว้างาน บางคนก็มีบทบาทการเป็นผู้นำที่คอยบอกกับเพื่อน ๆ ว่าจะต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ แต่บางคนก็เป็นผู้ตามที่ดีคือความคิดของบุคคลในกลุ่มว่าอย่างไร ตนเองก็จดบันทึกไปตามนั้น หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนทำงานเสร็จ ครูได้ให้ส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้นเรียน และให้เพื่อน ๆ วิจารณ์ผลงานของกลุ่มตนเองและกลุ่มคนอื่นว่าเป็นอย่างไร จากการสังเกตนักเรียนที่ออกมารายงานมีการเตรียมตัวมาน้อย ขาดความมั่นใจในการพูด เวลาพูดจึงพูดเสียงเบาครูสั่งบอกให้รายงานเสียงดังกว่าเก่า ซึ่งนักเรียนก็ได้ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
ในขั้นสรุป ครูและนักเรียนได้ร่วมกันสรุปประวัติและคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอล ซึ่งครูได้อภิปรายถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่นว่า นักเรียนต้องให้ความช่วยเหลือ มีน้ำใจให้กันและกัน งานจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ก็ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันอภิปรายกันเป็นอย่างดี อันแสดงถึงการมีเจตคติที่ดีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นครูได้ทดสอบความรู้หลังเรียนเกี่ยวกับประวัติและคุณค่ากีฬาวอลเลย์บอล ซึ่งผลการทดสอบนักเรียนส่วนมากอยู่ในเกณฑ์ดี จึงสรุปได้ว่าในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความรู้ มีทักษะและมีเจตคติตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้

ลงชื่อ .......................................ครูประจำวิชา
(นางมติกา โกสีนาม )
24 พฤษภาคม 2550



ภาคผนวก
แบบทดสอบก่อนเรียน กีฬาวอลเลย์บอล
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ เวลา 25 นาที
คำสั่ง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบ
1. ผู้คิดค้นกีฬาวอลเลย์บอลคือใคร
ก. วิลเลี่ยม จี มอร์แกน ข. วิเลี่ยม เจ. คิงส์
ค. ด๊อกเตอร์. เอ. ที . ฮาสเทส ง. มิสเตอร์เคนเนส แบคเค
2. สมาพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ ใช้ชื่อย่อว่าอะไร
ก. FBIV ข. VIFB
ค. IVBF ง. VBIF
3. กีฬาวอลเลย์บอลดัดแปลงมาจากกีฬาประเภทใด
ก. ฟุตบอล ข. เทเบิลเทนนิส
ค. เทนนิส ง. บาสเกตบอล
4. การออกกำลังกายที่ถูกหลักคือข้อใด
ก. ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหวทั่วถึงกัน
ข. ออกกำลังกายแต่ละครั้งควรใช้เวลานาน ๆ
ค. ออกกำลังกายให้เหนื่อยที่สุดในแต่ละครั้ง
ง. ออกกำลังกายให้ทรวดทรงงดงาม
5. สมรรถภาพร่างกายข้อใดที่ใช้เป็นหลักในการเล่นวอลเลย์บอล
ก. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ข. ความคล่องแคล่วว่องไว
ค. ความเร็ว ง. ความสมดุล
6. ข้อควรปฏิบัติของผู้เล่นที่ดีคือข้อใด
ก. เล่นเพื่อชัยชนะ ข. เล่นตามโค้ชสั่ง
ค. เล่นด้วยน้ำใจนักกีฬา ง. เล่นตามกองเชียร์
7. มารยาทของผู้ดูที่ดีคือข้อใด
ก. ลงโทษผู้เล่นที่แสดงกิริยามารยาทไม่ดี ข. เชียร์นักกีฬาทั้งสองฝ่าย
ค. ลงไปสัมผัสมือนักกีฬาในสนาม ง. รู้จักระงับโทสะเมื่อผู้เล่นเกิดความผิดพลาด
8. การเล่นลูกสองมือล่าง หากผู้เล่นยกแขนขึ้นสูงในขณะปะทะลูกบอลจะเกิดอะไรขึ้น
ก. โอกาสที่ลูกบอลจะกระดอนเลยไปทางด้านหลังมีมากขึ้น
ข. วิถีของลูกบอลกระดอนออกไปจะพุ่งต่ำลง
ค. ทิศทางของลูกบอลจะพุ่งตรงไปด้านหน้า
ง. ทิศทางของลูกบอลจะลอยสูงขึ้น
9. การเล่นลูกบอลสองมือล่างควรให้ลูกบอลปะทะบริเวณใดของแขน
ก. เหนือข้อมือประมาณ 10 เซนติเมตร ข. ระหว่างข้อมือกับข้อศอก
ค. บริเวณนิ้วหัวแม่มือ ง เหนือข้อศอก
10. เพราะเหตุใดการเล่นลูกมือล่าง จึงต้องบิดด้านในของข้อศอกและหงายแขนขึ้น
ก. เพื่อให้ร่างกายผู้เล่นอยู่ในสภาพที่เกิดความสมดุลมากที่สุด
ข. เพื่อให้มีพื้นที่ในการปะทะลูกบอลมากขึ้น
ค. เพื่อให้แขนและลำตัวทำงานประสานกันได้อย่างลงตัวสมบูรณ์
ง. เพื่อให้ข้อต่อทุกส่วนของร่างกายทำงานร่วมกันอย่างอิสระ
11. การเซทลูกด้วยปลายนิ้ว นิ้วใดบ้างที่รับน้ำหนักลูกบอลมากที่สุด
ก. นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ข. นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง นิ้วนาง
ค. นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง นิ้วก้อย ง. นิ้วนาง นิ้วชี้ นิ้วกลาง
12. ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของลูกบอลในการเซทลูกด้วยปลายนิ้วคือข้อใด
ก. ด้านหน้าระดับสูงไม่เกินคาง และไม่ต่ำกว่าอก ข. สูงเหนือศีรษะผู้เล่น
ค. สูงสุดเท่าที่ผู้เล่นสามารถยืดแขนขึ้นไปได้ ง. ด้านหน้าเหนือหน้าผากของผู้เล่นเล็กน้อย
13. คำกล่าวใดถูกต้องที่สุด
ก. การตบเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการเล่นวอลเลย์บอลเกมรับ
ข. การตบเป็นทักษะสำคัญที่สุดของการเล่นวอลเลย์บอลฝ่ายรับ
ค. การตบเป็นเทคนิคสำคัญที่สุดในการใช้โจมตีฝ่ายรับ
ง. การตบเป็นเทคนิคสำคัญที่สุดในการใช้โจมตีฝ่ายรุก
14. ในช่วงจังหวะสุดท้ายก่อนสปริงตัวลอยขึ้นไปตบลูกบอล ส่วนใดของเท้าที่สัมผัสพื้นก่อน
ก. ส้นเท้าการลอยตัวจะสูงกว่าจึงใช้ตบลูกไกล ข. หัวแม่เท้า
ค. ปลายเท้าการลอยตัวจะสูงกว่าจึงใช้ตบลูกไกล ง. ฝ่าเท้าด้านนอก
15. การทำการสกัดกั้นลูกบอลที่ตัวตบตบมานั้น จังหวะการลอยตัวของผู้สกัดกั้นควรทำอย่างไร
ก. ทันทีหลังจากตัวตบกระโดดลอยตัวขึ้น ข. พร้อมกับตัวตบ
ค. ก่อนหน้าตัวตบกระโดดขึ้นเล็กน้อย ง. ขึ้นอยู่กับความสูงของลูกบอล
16. เป็นการเสิร์ฟที่ใช้ความแข็งแรงของแขนในจังหวะการโจมตี เพื่อควบคุมทิศทางและวิถีของลูกบอลคำกล่าวนี้สอดคล้องกับการเสิร์ฟแบบใด
ก. การเสิร์ฟลูกมือล่าง ข. การเสิร์ฟลูกมือบน
ค. การเสิร์ฟลูกมือข้าง ง. การเสิร์ฟลูกลอยส่าย
17. ลักษณะการยืนที่ถูกต้องในขณะทำการเสิร์ฟลูกคือข้อใด
ก. ยืนโดยใช้ปลายเท้าขนานกัน ข. ยืนโดยให้เท้าข้างที่ถนัดอยู่ด้านหลัง
ค. ยืนโดยให้เท้าข้างที่ไม่ถนัดอยู่ด้านหน้า ง. ถูกทุกข้อ
18. ผู้เล่นในแดนหลังคือผู้เล่นในตำแหน่งใด
ก. 4, 3, 2 ข. 3, 2, 1
ค. 4, 5, 6 ง. 5, 6, 1
19. การเสิร์ฟที่กระทำก่อนผู้ตัดสินอนุญาตจะเป็นอย่างไร
ก. ยกเลิกไป ข. เปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเสิร์ฟ
ค. ให้เสิร์ฟใหม่ ง. เสียแต้ม
20. ข้อใดถือว่าเป็นลูกดี
ก. ลูกบอลข้ามตาข่ายระหว่างเสาอากาศ ข. ลูกบอลลอดตาข่ายระหว่างเสา
ค. ลูกบอลข้ามตาข่ายนอกแถบข้าง ง. ลูกบอลถูกบุคคลภายนอก





************************************************************************









เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
กีฬาวอลเลย์บอล

ข้อ 1 ตอบข้อ ก
ข้อ 2 ” ค
ข้อ 3 ” ค
ข้อ 4 ” ก
ข้อ 5 ” ข
ข้อ 6 ” ค
ข้อ 7 ” ข
ข้อ 8 ” ก
ข้อ 9 ” ก
ข้อ 10 ” ข
ข้อ 11 ” ก
ข้อ 12 ” ง
ข้อ 13 ” ค
ข้อ 14 ” ก
ข้อ 15 ” ง
ข้อ 16 ” ข
ข้อ 17 ” ง
ข้อ 18 ” ง
ข้อ 19 ” ค
ข้อ 20 ” ก


แบบบันทึกคะแนนการทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 – 15 เรื่อง การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

เกณฑ์การประเมิน

ทักษะในการทำงาน
1. มีความรับผิดชอบ
1 คะแนน ปฏิเสธไม่รับผิดชอบในการทำงานเมื่อถูกขอร้อง
2 คะแนน มีความรับผิดชอบต่อการทำงานเพราะถูกบังคับ
3 คะแนน มีความรับผิดชอบต่อการงานทำงานเพราะถูกขอร้อง
4 คะแนน เต็มใจและมีความรับผิดชอบต่อการทำงาน
2. มีความตั้งใจในการทำงาน
1 คะแนน ไม่ตั้งใจในการทำงานแม้ว่าจะถูกขอร้อง
2 คะแนน มีความตั้งใจในการทำงานเพราะถูกบังคับ
3 คะแนน มีความตั้งใจในการทำงานเพราะถูกขอร้อง
4 คะแนน เต็มใจและและมีความตั้งใจในการทำงาน
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประณีต สวยงาม
1 คะแนน คล้ายกับของเดิม
2 คะแนน คล้ายกับของเดิมแต่นำมาดัดแปลง
3 คะแนน แตกต่างจากของเดิม ประณีต สวยงาม
4 คะแนน แตกต่างจากของเดิมและนำเอาวัสดุจากท้องถิ่นมาใช้ มีความประณีต สวยงาม
ทักษะในการเรียน
1. มีการวางแผนการเรียน
1 คะแนน ไม่มีการวางแผน
2 คะแนน มีการวางแผนนาน ๆ ครั้ง อย่างชัดเจน
3 คะแนน มีการวางแผนบ่อยครั้ง อย่างชัดเจน
4 คะแนน มีการวางแผนทุกครั้ง อย่างชัดเจน
2. มีการจดบันทึกที่ดี
1 คะแนน รายละเอียดหายไปมากกว่าครึ่ง
2 คะแนน รายละเอียดขาดไปครึ่งหนึ่ง
3 คะแนน รายละเอียดขาดไปบางรายการ
4 คะแนน รายละเอียดครบทุกรายการ
3. มีการทบทวนความรู้
1 คะแนน ไม่เคยทบทวน
2 คะแนน มีการทบทวนนาน ๆ ครั้ง
3 คะแนน มีการทบทวนบ่อยเกือบทุกครั้ง
4 คะแนน มีการทบทวนทุกครั้ง
ทักษะทางสังคม
1. มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น
1 คะแนน ปฏิเสธการช่วยเหลือเมื่อถูกขอร้อง
2 คะแนน ช่วยเหลือผู้อื่นเพราะถูกบังคับ
3 คะแนน ช่วยเหลือผู้อื่นเพราะถูกขอร้อง
4 คะแนน อาสา เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น
2. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1 คะแนน ปฏิเสธไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2 คะแนน ยอมรับฟังเพราะถูกขอร้องให้ฟังก่อน
3 คะแนน ยอมรับฟังแต่มีเหตุผลในการยอมรับ
4 คะแนน รับฟังและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
3. มีลักษณะเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี
1 คะแนน ปฏิเสธการเป็นผู้นำหรือผู้ตามทุกครั้ง
2 คะแนน ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้เพราะถูกบังคับ
3 คะแนน ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้เพราะถูกขอร้อง
4 คะแนน ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้ด้วยความเต็มใจ







เกณฑ์การประเมิน

1. ความถูกต้องสมบูรณ์ของชิ้นงาน
1 คะแนน องค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง
2 คะแนน ขาดองค์ประกอบหลายอย่าง
3 คะแนน ขาดองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว
4 คะแนน องค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ครบถ้วน
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1 คะแนน ผลงานไม่แตกต่างจากคนอื่น ๆ
2 คะแนน ผลงานมีความคิดสร้างสรรค์เล็กน้อย
3 คะแนน ผลงานมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีคล้ายกับเพื่อน ๆ บางคน
4 คะแนน ผลงานที่ทำเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร
3. การออกแบบและการจัดระบบชิ้นงาน
1 คะแนน ไม่ออกแบบและจัดระบบชิ้นงาน
2 คะแนน มีการออกแบบและจัดระบบชิ้นงานถูกต้องเพียงเล็กน้อย
3 คะแนน มีการออกแบบและจัดระบบชิ้นงานถูกต้องแต่ยังไม่ครบ
4 คะแนน มีการออกแบบและจัดระบบชิ้นงานอย่างเป็นระเบียบ
4. ความเป็นระเบียบ ประณีต สวยงาม
1 คะแนน ไม่เป็นระเบียบและไม่สวยงาม
2 คะแนน มีความเป็นระเบียบ แต่ขาดความประณีตและสวยงาม
3 คะแนน มีความเป็นระเบียบ ประณีตแต่ไม่สวยงาม
4 คะแนน มีความเป็นระเบียบ ประณีต สวยงาม
5. เหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียน
1 คะแนน ไม่ตรงกับเรื่องที่เรียน
2 คะแนน สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนส่วนน้อย
3 คะแนน สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนส่วนมาก
4 คะแนน สอดคล้องตรงและกับเรื่องที่เรียน


ใบความรู้ที่ 1
ประวัติและคุณค่ากีฬาวอลเลย์บอล
ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในต่างประเทศ ( อุทัย สงวนพงศ์, ม.ป.ป. : 1 )
กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลี่ยม จี มอร์แกน ( William G. morgan ) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เนื่องจากฤดูหนาวหิมะตกลงมา ผู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ เขาดูการแข่งขันเทนนิส จึงเกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการเล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสขึงระหว่างเสาโรงยิมเนเซี่ยม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้แขนและมือตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้บอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่และแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ ในที่สุดเขาจึงให้บริษัท AG. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่ใช้เล่นขึ้น และตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “ มินโตเนต “ ( Mintonette )
ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาทางพลศึกษาที่มหาวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ( Spring field college ) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที
เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead ) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจาก มินโตเนต มาเป็น
“ วอลเลย์บอล “ ( Volleyball ) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นตีโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้บอลตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวอเมริกันเป็นอย่างมากเพราะเป็นเกมที่เล่นได้ง่าย
กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย
กีฬาวอลเลย์บอลเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่สมัยใดไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าชาวไทยบางกลุ่มได้เริ่มเล่นและแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยใช้กติการะบบ 9 คน และตั้งแต่นั้นกีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน 2500 ได้มีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น
ปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลได้นิยมเล่นกันแพร่หลายทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยและตามหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขันมากมายหลายรายการเป็นประจำทุกปีทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

คุณค่าและประโยชน์ของการเล่นวอลเลย์บอล
1. วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็น
แล้วจะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภทซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมา
2. วอลเลย์บอล เป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความ
สัมพันธ์รักใคร่ปองดองกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้วย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะยิ่งขึ้น
3. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหาอย่าง
ฉับพลันทันที เพราะการเล่นต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลารวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถ
ตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้ดี
4. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอลที่จะ
นำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
5. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้ไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ เพราะเล่นได้ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง กลางวัน หรือกลางคืนหากมีแสงสว่างเพียงพอ
6. การเล่นวอลเลย์บอลผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเอง ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกัน
ของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
7. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะ
ต้องฝึกให้มีระเบียบวินัย มีเหตุผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมี
ผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
8. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฏกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฏกติกา ดังนั้น
การเล่นวอลเลย์บอลย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น
9. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ให้มี
ความสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะ และให้อภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนม
คุ้นเคย และมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน
11. ปัจจุบันผู้เล่นที่มีความสามารถสูงยังมีสิทธิ์ได้เข้าศึกษาต่อในบางสถาบันที่ดีอีกด้วย
ใบความรู้ที่ 2
ข้อตกลงในการเรียนวิชาวอลเลย์บอล
การแต่งกาย
1. ผู้หญิง ใส่ชุดพละของทางโรงเรียน
2. ผู้ชาย ใส่เสื้อพละของโรงเรียนอนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้นนักเรียนได้
การเรียน
1. มาสายได้ไม่เกิน 5 นาที หลังจากหมดคาบวิชาที่เรียนมาก่อน
2. การเข้าแถวก่อนเรียน แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน มีหัวหน้า 1 คน รองหัวหน้า 1 คน
เข้าแถวตอนลึก 4 แถวเรียงตามลำดับ ไหล่ตัวเตี้ยอยู่ข้างหน้า ตัวสูงอยู่ข้างหลัง
3. หัวแถวรายงานสมาชิกในกลุ่มกับครูว่าเลขที่เท่าไหร่เจ็บป่วยหรือใครขาดบ้าง
4. ปฏิบัติกายบริหาร
5. อุปกรณ์การเรียน ให้จับคู่ตามเลขที่ไปนำมาเรียนและเก็บหลังจากเลิกเรียนแล้ว โดยหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆในแต่ละสัปดาห์จนกระทั่งหมด
6. ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงนกหวีดให้หยุดทำทุกอย่าง แล้วรอฟังคำสั่งครู
7. การทำกิจส่วนตัว เช่นดื่มน้ำ ปัสสาวะ ฯลฯ ต้องขออนุญาตจากครูก่อนเท่านั้น
การมาสาย ป่วยและขาดเรียน
1. มาสาย 4 ครั้ง ป่วย 2 ครั้ง เท่ากับขาดเรียน 1 ครั้ง
2. ขาดเรียนได้ไม่เกิน 4 ครั้ง
ขอบข่ายการเรียน
1. วิชานี้มีหน่วยการเรียน 0.5 หน่วย เวลา 1 คาบ / สัปดาห์ รวม 20 คาบ / สัปดาห์
2. วิชานี้มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยแบ่งเป็นอัตราส่วน 80 / 20 ดังนี้คือ
คะแนน เก็บ 80 คะแนน แบ่งเป็นสมรรถภาพทางกาย 20 คะแนน
เป็นคะแนนจุดประสงค์ 40 คะแนน
เป็นคะแนนการทำกายบริหาร 10 คะแนน
เป็นคะแนนจิตพิสัย 10 คะแนน
เป็นคะแนนสอบปลายภาค 20 คะแนน
การปฏิบัติตนหลังเลิกเรียน
1. การเลิกแถว ให้หัวหน้าชั้นบอก “แถวตรง” “ เลิกแถว “ ทุกคนก้าวเท้าซ้ายมาด้าน
หน้าแล้วร้องเฮ้
2. กลุ่มบริการตรวจเช็คอุปกรณ์ ถ้าครบแล้วนำไปเก็บ ถ้ามีปัญหาแจ้งครูทราบทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าเรียนวิชาต่cccc